 |
เมื่อเราเดินทางเข้าใกล้ตำบลลำพะยาเราจะเห็นไลเคนงอกงามอยู่ตามพื้นป่าและลำต้นของต้นไม้ จนมองดูเหมือนต้นไม้เป็นโรค ไลเคน ไม่ใช่พืชและไม่ใช่เห็ดราแต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายกับรา ราได้อาหารจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่าย ส่วนสาหร่ายซึ่งไม่มีรากและลำต้นก็อาศัยราเป็นที่พักพิง ไลเคนแต่ละชนิดเกิดจากราหนึ่งชนิดจับคู่กับสาหร่ายอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ความหลากหลายของชนิดไลเคน ขึ้นอยู่กับชนิดของราเป็นสำคัญ ราที่ก่อให้เกิดไลเคน มีประมาณ 13,500ชนิด ส่วนสาหร่ายในไลเคนมีประมาณ 100ชนิด 40สกุล เท่านั้นผลของการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและราทำให้เกิดโครงสร้างซึ่งมีลักษณะเฉพาะของไลเคน เรียกว่า แทลลัส (Thallus) ไลเคนเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับโลกของเรา หากนับอายุของมันก็ประมาณ 4,600 ล้านปีแล้ว เรามักพบไลเคนในที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพราะไลเคนทนต่อมลพิษไม่ได้ เนื่องจากไม่มีชั้นผิวป้องกันตัวจากมลพิษ สารพิษจึงเข้าไปทำลายสาหร่ายโดยตรง ทำให้ไลเคนตายในเวลาต่อมา เราจึงไม่พบไลเคนในเมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์นำไลเคนมาใช้ตรวจสภาพหลายวิธี เช่นตรวจหาสารพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในไลเคนบันทึกชนิดและจำนวนของไลเคนที่พบ แล้วดูการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นำไลเคนมาไว้ในบริเวณที่ต้องการตรวจหามลพิษ และดูการเปลี่ยนแปลงของมัน ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตช้ามาก ชอบเกาะต้นไม้ที่มีผิวเรียบและมีความเป็นกรดน้อย มันไม่ใช่กาฝากเพราะไม่ได้ดูดธาตุอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอยู่ ในหุบเขาลำพญาพบไลเคน 4ชนิด คือ พวกเป็นแผ่น พวกพุ่มกอ พวกใบและพวกเส้นด้าย ไลเคนไม่เพียงช่วยตรวจมลพิษในอากาศเท่านั้น ยังเป็นตัวบอกสภาพความชื้นในอากาศได้ด้วย |
 |