 |
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาองค์กรรัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่น ได้ร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ในการสำรวจวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ณ บริเวณหุบเขาลำพญา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการและแผนการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๐ และยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมแก้ไขปัญหาความยากจนและ
ยกระดับคุณภาพชีวิต และได้แนวคิดในการก่อตั้งศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อศึกษาวิจัยความหลากหลายของ
สิ่งมีชีวิตและการพัฒนาทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากแนวคิดดังกล่าวได้พัฒนามาเป็นศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ หุบเขาลำพญา ต่อมาได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงการเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ให้เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ฯ และได้รับพระราชทานชื่อศูนย์ว่า “ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษาบรมราชินีนาถ” |
 |
|
|
|
|
|
|
|
• ปรัชญา |
|
|
ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทรัพยากรเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าควรเรียนรู้และรักษาให้อยู่คู่แผ่นดิน |
|
|
|
|
|
• วิสัยทัศน์ |
|
|
เป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้บริการเรียนรู้และพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน |
|
|
|
|
|
• พันธกิจ |
|
|
1. |
ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในหุบเขาลำพญา |
2. |
ศูนย์รวบรวมข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมีเครือข่ายทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน |
3. |
วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
4. |
อนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ |
5. |
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งให้บริการแก่ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป |
6. |
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน |
7. |
สร้างความสัมพันธ์อันดีของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงของประเทศ |
 |
|
|
|
|
• วัตถุประสงค์ |
|
|
1. |
ด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ |
2. |
ส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
3. |
พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรค โดยให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อันจะส่งผลให้การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืน |
4. |
ศึกษาวิจัยโดยความร่วมมือระหว่างมีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาหน่วยงานอื่นๆ และประชาชนในท้องถิ่นให้เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของท้องถิ่น เพื่อสนองต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต |
 |
|
|
|
|
• สถานที่ดำเนินงาน |
|
|
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ฯ ตั้งอยู่ใกล้โรงเรียนลำพะยาประชานุเคราะห์ ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาและบริเวณหุบเขาลำพญาในเขตเทือกเขาสันกาลาคีรีซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน ความสูง ๕๐-๗๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง นอกจากศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯมีสำนักงาน ตั้งอยู่ที่อาคาร ๔ ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา |
|
|
|
|
|
|
|
|
ประมวลภาพกิจกรรม |
|
|
|
|